การทดสอบประสิทธิภาพการกัด เมื่อใช้น้ำยา pickling acid ในลักษณะการฉีดพ่น
เนื่องจากเราได้รับการร้องขอจากลูกค้ารายหนึ่งให้ทำการทดสอบ น้ำยา SUS-ETCH IS6 ในรูปแบบของการฉีดพ่น นอกเหนือจากการใช้งานแบบจุ่มแช่ เราจึงได้ออกแบบการทดลอง โดยใช้ ท่อสเตนเลส ชนิด 304 ที่มีรอยเชื่อมอาร์กอน เป็นชิ้นงานทดสอบ
จากนั้นนำน้ำยา กัดกรด SUS-ETCH IS6 บรรจุลงในขวดฉีด โดยใช้ปริมาณเริ่มต้น 400 มล. (ในตอนท้ายเราจะทำการวัดปริมาตรที่เหลือหลังจากใช้ฉีดพ่น เพื่อหาขีดความสามารถในการกัด ในหน่วย ความยาวรอยเชื่อม ต่อ มล. ของน้ำยา)
ทำการฉีดพ่นน้ำยา ให้ชุ่มรอยเชื่อม ด้านหนึ่งทิ้งไว้นาน 1 ชั่วโมง (รอยเชื่อมอีกด้านใช้พลาสติกคลุมเพื่อไม่ให้โดนน้ำยา) เมื่อครบ 1 ชั่วโมง ใช้น้ำเปล่าฉีดล้าง เอาคราบโลหะที่ถูกกัดทิ้งไป บันทึกภาพ
จะเห็นว่ารอยไหม้ถูกขจัดออกไปจากผิวเกือบจะทั้งหมด แต่ยังคงเหลือบางจุด เราทดลองกับรอยเชื่อมอีกด้านหนึ่ง ที่ใช้พลาสติดคลุมไว้ ทำการฉีดพรม ด้วยน้ำยาเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ปล่อยทิ้งให้นานขึ้นเป็น 2 ชั่วโมง เมื่อครบเวลา นำมาถ่ายรูปซ้ำอีกครั้ง
รอยไหม้ถูกกำจัดออกแทบทั้งหมด เนื้อท่อสะอาดไม่มีเศษโลหะติดอยู่ สภาพดีกว่า เวลา สัมผัส 1 ชั่วโมงอย่างชัดเจน
การคำนวณหาระดับขีดความสามารถในการกัดออก (etching capability) เราทำการวัดความยาวของรอยเชื่อม ได้เท่ากับ 8 เซนติเมตร และเมื่อวัดปริมาตรน้ำยากัดกรดที่ใช้ไป เท่ากับ 10 มล. หรือเท่ากับ 1 ลิตรของน้ำยากัดกรด สามารถกัดรอยเชื่อมได้ยาวกว่า 8 เมตร
การใช้น้ำยากัดกรด โดยใช้การฉีดพรม อาจมีข้อดีกว่าตรงที่ ประหยัดน้ำยา และสามารถทำที่หน้างาน เช่น ใช้ฉีดพรมท่อที่มีการเชื่อมประสาน ที่ไซต์งาน แต่มีข้อควรระวังคือ อาจเกิดการสัมผัสน้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่ทำหน้าที่ฉีดพรมน้ำยา ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอย่างครบถ้วน ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง
ป้ายกำกับ: บริการกัดกรดสแตนเลส, acid pickling service, pickling acid, spray pickling, SUS pickling
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก