วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดสอบประสิทธิภาพการกัด เมื่อใช้น้ำยา pickling acid ในลักษณะการฉีดพ่น

เนื่องจากเราได้รับการร้องขอจากลูกค้ารายหนึ่งให้ทำการทดสอบ น้ำยา SUS-ETCH IS6 ในรูปแบบของการฉีดพ่น นอกเหนือจากการใช้งานแบบจุ่มแช่ เราจึงได้ออกแบบการทดลอง โดยใช้ ท่อสเตนเลส ชนิด 304 ที่มีรอยเชื่อมอาร์กอน เป็นชิ้นงานทดสอบ



จากนั้นนำน้ำยา กัดกรด SUS-ETCH IS6 บรรจุลงในขวดฉีด โดยใช้ปริมาณเริ่มต้น 400 มล. (ในตอนท้ายเราจะทำการวัดปริมาตรที่เหลือหลังจากใช้ฉีดพ่น เพื่อหาขีดความสามารถในการกัด ในหน่วย ความยาวรอยเชื่อม ต่อ มล. ของน้ำยา)



ทำการฉีดพ่นน้ำยา ให้ชุ่มรอยเชื่อม ด้านหนึ่งทิ้งไว้นาน 1 ชั่วโมง (รอยเชื่อมอีกด้านใช้พลาสติกคลุมเพื่อไม่ให้โดนน้ำยา) เมื่อครบ 1 ชั่วโมง ใช้น้ำเปล่าฉีดล้าง เอาคราบโลหะที่ถูกกัดทิ้งไป บันทึกภาพ



จะเห็นว่ารอยไหม้ถูกขจัดออกไปจากผิวเกือบจะทั้งหมด แต่ยังคงเหลือบางจุด เราทดลองกับรอยเชื่อมอีกด้านหนึ่ง ที่ใช้พลาสติดคลุมไว้ ทำการฉีดพรม ด้วยน้ำยาเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ปล่อยทิ้งให้นานขึ้นเป็น 2 ชั่วโมง เมื่อครบเวลา นำมาถ่ายรูปซ้ำอีกครั้ง



รอยไหม้ถูกกำจัดออกแทบทั้งหมด เนื้อท่อสะอาดไม่มีเศษโลหะติดอยู่ สภาพดีกว่า เวลา สัมผัส 1 ชั่วโมงอย่างชัดเจน

การคำนวณหาระดับขีดความสามารถในการกัดออก (etching capability) เราทำการวัดความยาวของรอยเชื่อม ได้เท่ากับ 8 เซนติเมตร และเมื่อวัดปริมาตรน้ำยากัดกรดที่ใช้ไป เท่ากับ 10 มล. หรือเท่ากับ 1 ลิตรของน้ำยากัดกรด สามารถกัดรอยเชื่อมได้ยาวกว่า 8 เมตร 

การใช้น้ำยากัดกรด โดยใช้การฉีดพรม อาจมีข้อดีกว่าตรงที่ ประหยัดน้ำยา และสามารถทำที่หน้างาน เช่น ใช้ฉีดพรมท่อที่มีการเชื่อมประสาน ที่ไซต์งาน แต่มีข้อควรระวังคือ อาจเกิดการสัมผัสน้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่ทำหน้าที่ฉีดพรมน้ำยา ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอย่างครบถ้วน ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง


ป้ายกำกับ: , , , ,

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อกำหนดทั่วไปของกระบวนการกัดกรด (process basic requirement)

ความจำเป็นหรือการเลือกใช้วิธีการในการปรับปรุงสภาพผิวของชิ้นงานสเตนเลส ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบริบทการทำงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพผิวก่อนการปรับปรุงที่เป็นอยู่,ลักษณะความสะอาดของพื้นผิวที่ต้องการ และต้นทุนการดำเนินงานที่ยอมรับได้ เอกสารฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายแนะนำ ข้อกำหนดทั่วไปของการปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวทางไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด

  • ·        เนื่องจากการกัดกรดและสร้างชั้นฟิล์มเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับใช้สารเคมีอันตราย จึงควรต้องเป็นการปฏิบัติงานในที่ร่ม หรือภายในอาคาร ในบริเวณพื้นที่ที่แยกต่างหากชัดเจน
  • ·        พนักงานผู้ปฏิบัติงานต้องมีความคุ้นเคยกับการทำงานร่วมกับสารเคมี มีความตระหนักรู้ถึงอันตรายของสารเคมีที่ตนเองใช้อยู่
  • ·        ในพื้นที่ปฏิบัติงานต้องจัดเตรียมข้อมูลความปลอดภัย เอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดทำวิธีขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน สารเคมีที่จัดเก็บอยู่ต้องมีการติดฉลาก แสดงความเป็นอันตรายที่สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายของท้องที่ เป็นไปตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด
  • ·        ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลอย่างครบถ้วน ทั้งชุดกันสารเคมี แว่นตา ถุงมือ หน้ากาก และรองเท้ากันสารเคมี และอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้





  • ·        ในกรณีที่การทำงานอยู่ในอาคารร่วมกับการทำงานอื่น ต้องแยกพื้นที่ทำงานอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี และป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกปนเปื้อนผิวงานในระหว่างการทำงาน
  • ·        บริเวณทำงานต้องมีการไหลเวียนอากาศที่ดี ควรมีตู้ดูดควันติดตั้งเพื่อดูดไอกรดออกไป
  • ·        ในบริเวณทำงานควรติดตั้งวัสดุที่ทนทานต่อสารเคมีบุผนัง พื้น เพดาน เพื่อป้องกันการกัดกร่อนโครงสร้างอาคาร
  • ·        ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับชะล้างทำความสะอาด เช่น เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง
  • ·         ต้องเตรียมอุปกรณ์ชะล้างร่างกายฉุกเฉิน อุปกรณ์ล้างตาฉุกเฉิน ในบริเวณปฏิบัติงาน



  • ·        ต้องมีระบบกักเก็บ สารเคมีที่ผ่านการใช้งาน เพื่อนำไปปรับสภาพให้เป็นกลางก่อนปล่อยสู่ภายนอก
  • ·        มีพื้นที่เก็บรักษาสารเคมี แยกออกจากบริเวณทำงาน






  • ·        สำหรับน้ำที่ใช้ชะผิวชิ้นงาน ต้องเป็นน้ำสะอาด และหากผิวชิ้นงานมีความละเอียดอ่อนมากๆ น้ำที่ใช้ชะล้างต้องเป็นน้ำ demineralize water















ป้ายกำกับ: , , , ,